สำหรับนายจ้าง
• ทำให้ลูกจ้างมีความรู้สึกที่ดีและผูกพันต่อนายจ้าง ส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
• ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เงินสมทบที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนสามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างในปีนั้นๆ
• ลดภาระการบริหารงานของบริษัท และทำให้ระบบการหมุนเวียนเงินสดของนายจ้างดีขึ้น
สำหรับลูกจ้าง
• เสมือนได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากเงินสมทบที่นายจ้างจ่ายให้เป็นสวัสดิการเงินได้ที่เพิ่มขึ้นเมื่อออกจากงานหรือเกษียณอายุ
• เป็นหลักประกันแก่ครอบครัว กรณีสมาชิกทุพพลภาพหรือเสียชีวิต
• เป็นโอกาสออมเงินเพื่อตนเองและครอบครัวเพิ่มขึ้น
• เงินออมอยู่ภายใต้การบริหารของมืออาชีพ
• ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เมื่อสมาชิกจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุน ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษี
• หักลดหย่อนในการคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 10,000 บาท
• ส่วนที่เกิน 10,000 บาทแต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 490,000 บาท รวม 500,000 บาท
เมื่อสมาชิกออกจากงาน เงินที่นำมาคำนวณภาษี ประกอบด้วยเงิน 3 ส่วนคือ
1. ผลประโยชน์ของเงินสะสม
2. เงินสมทบของบริษัท
3. ผลประโยชน์ของเงินสะสม
กรณี พนักงานมีอายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้น เงินได้เมื่อออกจากงาน สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 : ลดหย่อนได้ = 7,000 x อายุงาน
ส่วนที่ 2 : ที่เหลือหักออกอีกร้อยละ 50
กรณีพิเศษ ยกเว้นทั้งจำนวน เงินได้เมื่อออกจากงาน ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในกรณีดังนี้
• ออกจากงาน
อายุสมาชิกกองทุน 5 ปีขึ้นไป และ
อายุ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
• ทุพพลภาพ
• เสียชีวิต