กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร?

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือกองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

  • ส่งเสริมการออมระยะยาว เพื่อเป็นประโยชน์ในยามชราภาพของลูกจ้าง
  • เป็นหลักประกันของครอบครัวกรณีลูกจ้างออกจากงาน เกษียณอายุ ออกจากกองทุนหรือ เสียชีวิต
  • เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เพิ่มแรงจูงใจให้ลูกจ้างอยู่กับนายจ้างนานขึ้น

องค์ประกอบของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

pic web-04

เงินสะสม ที่สมาชิกสะสมไว้ทุกๆ ครั้งที่ได้รับค่าจ้าง โดยคาดหวังว่าจะเก็บไว้ใช้เมื่อออกจากงาน หรือเมื่อตอนที่เกษียณอายุอัตราเงินสะสมเริ่มตั้งแต่ 2%-15% ของค่าจ้าง
เงินสมทบ ที่นายจ้างสมทบเข้าไปในกองทุนพร้อมๆกับเงินสะสม โดยถือได้ว่าเป็นสวัสดิการประเภทหนึ่งที่นายจ้างผู้มองการณ์ไกลมอบให้พนักงานที่เป็นสมาชิกกองทุน เพื่อให้พนักงานมี เงินก้อนไว้ใช้เมื่อไม่ได้ทำงานกับนายจ้างแล้ว อัตราเงินสมทบเริ่มตั้งแต่ 2%-15% ของค่าจ้าง
ผลประโยชน์ของเงินกองทุน เป็นส่วนสุดท้ายที่นับว่าเป็นส่วนที่สำคัญยิ่ง ซึ่งงอกเงยมาจากการบริหารกองทุนของบริษัทจัดการ

โครงสร้างการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

pic web-04
ประโยชน์ในการจัดตั้งกองทุนสำรองเสี้ยงชีพ

สำหรับนายจ้าง
1. ทำให้ลูกจ้างมีความรู้สึกที่ดีและผูกพันต่อนายจ้าง ส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และขจัดปัญหาการพิพาทแรงงาน
2. ลดอัตราการลาออกจากงานของลูกจ้าง และสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างทำงานกับนายจ้างนานๆ
3. สร้างภาพพจน์ที่ดีต่อนายจ้างว่าเป็นบริษัทที่มั่นคง และมีสวัสดิการที่ดีให้แก่ลูกจ้าง
4. ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากเงินสมทบที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุน โดยสามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างของลูกจ้างแต่ละราย

สำหรับลูกจ้าง
1. เสมือนได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากเงินสมทบที่นายจ้างจ่ายให้ เป็นสวัสดิการเงินได้ที่เพิ่มขึ้นเมื่อออกจากงานหรือเกษียณอายุ
2. เป็นหลักประกันแก่ครอบครัว กรณีสมาชิกทุพพลภาพหรือเสียชีวิต
3. เป็นโอกาสออมเงินเพื่อตนเองและครอบครัวเพิ่มขึ้น
4. เงินออมอยู่ภายใต้การบริหารของมืออาชีพ
5. ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
– เงินสะสมสามารถนำมาหักลดหย่อนในการคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 10,000 บาท
– ส่วนที่เกิน 10,000 บาทแต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 490,000 บาท ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีรวม 500,000 บาท
– เมื่อสมาชิกออกจากงาน เงินที่นำมาคำนวณภาษี ประกอบด้วยเงิน 3 ส่วนคือ
1) ผลประโยชน์ของเงินสะสม
2) เงินสมทบของบริษัท
3) ผลประโยชน์ของเงินสมทบของบริษัท

pic web-04
pic web-04
• กรณี พนักงานลาออกจากงานและมีอายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้น เงินที่ได้รับจากกองทุน สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 ส่วน
  ส่วนที่ 1 : ลดหย่อนได้ = 7,000 x อายุงาน
  ส่วนที่ 2 : ที่เหลือหักออกอีกร้อยละ 50
  เงินได้สุทธิ หลังหักค่าใช้จ่ายข้างต้น จะนำไปคำนวณตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แยกยื่นภาษี โดยไม่ต้องนำไปรวมกับรายได้อื่นเพื่อคำนวณภาษีอีก
• กรณีพิเศษ ยกเว้นภาษีทั้งจำนวน ในกรณีดังต่อไปนี้
  1) ออกจากงานเมื่ออายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และเป็นสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี ต่อเนื่องกัน (55+5)
  2) ทุพพลภาพหรือเสียชีวิต

สนใจในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ