จรรยาบรรณการประกอบธุรกิจ

จริยธรรมทางธุรกิจ

บริษัทได้จัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน คู่มือการปฏิบัติงาน (Compliance Manual) จรรยาบรรณการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และกฎระเบียบการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงาน นอกเหนือจากคู่มือที่จัดทำโดยสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งได้แก่ จรรยาบรรณการจัดการลงทุนและมาตรฐานการประกอบวิชาชีพการจัดการลงทุนของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน และจรรยาบรรณและหลักปฏิบัติวิชาชีพการวิเคราะห์ และการจัดการลงทุนของสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่ให้พนักงานบริษัทยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม ทั้งในการปฏิบัติต่อบริษัทและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ตลอดจนสาธารณชนและสังคม โดยผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้องทุกคนได้ลงนามรับทราบและตกลงที่จะถือปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทได้ติดต่อสื่อสารกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอและติดตามการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวเป็นประจำ รวมทั้งได้มีการกำหนดบทลงโทษทางวินัยในกรณีที่มีการฝ่าฝืนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตาม

หลักการดังกล่าวข้างต้นได้กำหนดไว้สำหรับพนักงานของบริษัททุกคน เพื่อใช้ในการปฏิบัติ งานตามหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย พนักงานจะต้องปฏิบัติตามหลักการนี้รวมทั้งระเบียบ กฎเกณฑ์ที่กำหนดโดยองค์กรกำกับดูแล เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และสมาคมวิชาชีพต่างๆ เป็นต้น

มาตรฐานการปฏิบัติตนของผู้บริหารและพนักงาน

1. การปฏิบัติหน้าที่หรือให้บริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (Integrity)
พนักงานต้องไม่กระทำการไปในทางไม่ซื่อสัตย์สุจริต หรือมีพฤติกรรมที่เห็นได้ว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ที่บริษัทได้มอบหมาย
โดยให้พนักงานปฏิบัติงานบนพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริตต่อการประกอบวิชาชีพโดยไม่กระทำการในลักษณะเอาเปรียบลูกค้า
หรือ แสวงหาประโยชน์จากลูกค้าให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น พนักงานทุกคนต้องยึดหลักความสำคัญและประโยชน์อันสูงสุดของ
กองทุนและลูกค้าพร้อมๆ กับผลประโยชน์ของบริษัท ตัวอย่างเช่น ห้ามพนักงานขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าโดยที่บริษัทไม่ได้
อนุญาต เป็นต้น

2. การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบและรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และปฏิบัติต่อผู้ลงทุนทุกรายอย่างเป็นธรรม ด้วยความเอาใจใส่ ระมัดระวัง รอบคอบ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสำคัญ (Skill, care and diligence)
พนักงานทุกคนต้องใช้วิจารณญานในการปฏิบัติหน้าที่อย่างรอบคอบ เป็นไปตามจรรยาบรรณและมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ
เพื่อปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทอย่างเต็มความสามารถ รวมถึงปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อกองทุน ลูกค้าและบริษัท

3. หลักปฏิบัติทั่วไปในธุรกิจ (Market practice)
พนักงานทุกคนต้องปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วไป ซึ่งรวมทั้งการปฏิบัติตามระเบียบ หลักเกณฑ์หรือ
มาตรฐานใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง

4. ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า (Information about customers)
ในการให้บริการแก่ลูกค้า พนักงานต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่ครบถ้วนและเพียงพอ เพื่อทราบถึงสถานภาพและ
วัตถุประสงค์ของลูกค้า และสามารถให้คำแนะนำในบริการแต่ละประเภทให้แก่ลูกค้าได้อย่างเหมาะสม

5. ข้อมูลสำหรับลูกค้า (Information for customers)
ในการตัดสินใจลงทุน ให้คำแนะนำหรือกระทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของลูกค้า บริษัทจะต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วน เหมาะสม ทันเวลา
และเสมอภาคกับลูกค้าทุกราย นอกจากนี้ บริษัทจะต้องให้มีการจัดเก็บข้อมูล เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นหลักฐาน
สนับสนุนในการกระทำใด ๆ ว่ามีความชัดเจน และโปร่งใส

6. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflicts of interest)
ในการดำเนินการใด ๆ ของบริษัทอยู่บนพื้นฐานของการไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือมีพฤติการณ์ให้สงสัยได้ว่า
จะเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หากจะเกิดขึ้นโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ บริษัทจะยึดหลักการเปิดเผยข้อมูลโดยเคร่งครัด

7. การเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้า (Customer assets)
ในกรณีที่ต้องจัดเก็บทรัพย์สินของลูกค้า บริษัทจะจัดเก็บรักษาทรัพย์สินไว้ในสถานที่ที่ปลอดภัย มีระบบการควบคุมภายในที่
เพียงพอและเหมาะสม อีกทั้งมีการแยกทรัพย์สินของลูกค้าออกจากทรัพย์สินของบริษัท โดยสามารถระบุทรัพย์สินที่เป็น
ของลูกค้าแต่ละราย มีการแบ่งแยกหน้าที่อย่างชัดเจนระหว่างผู้บันทึกข้อมูลกับผู้จัดเก็บรักษา และมีการตรวจสอบความ
ครบถ้วนถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ

8. เงินทุน (Financial resources)
บริษัทในฐานะบริษัทจัดการลงทุนมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำรงสภาพคล่องทางการเงินของกองทุนภายใต้การบริหาร
ของบริษัทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพียงพอที่จะรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการลงทุน และไม่ก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่กองทุน
สำหรับการบริหารเงินทุนของบริษัท บริษัทจะต้องดำรงสภาพคล่องทางการเงินที่เพียงพอที่จะรับภาระผูกพันจากการดำเนิน
ธุรกิจ การลงทุน ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และจัดให้มี เงินทุนและการบริหารเงินทุนที่ดี

9. การจัดองค์กรและการควบคุมภายใน (Internal organization)
บริษัทต้องดำเนินการให้มีการจัดการและควบคุมการบริหารงานภายในของบริษัทที่ดี มีการจัดเก็บเอกสารหลักฐาน และการ
มอบหมายงานที่ชัดเจน นอกจากนี้ยังต้องจัดให้มีการฝึกอบรมและการกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่กำหนดไว้

10. ความสัมพันธ์กับองค์กรกำกับดูแล (Relations with regulators)
บริษัทจะต้องให้ความร่วมมือต่อองค์กรกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง และในกรณีที่คาดว่าจะต้องมีการเปิดเผยหรือชี้แจงใด ๆ
บริษัทจะรายงานต่อองค์กรกำกับดูแลในทันที

จรรยาบรรณการจัดการลงทุน (Code of Ethics)

ปฏิบัติและดูแลให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการลงทุนปฏิบัติตามจรรยาบรรณการประกอบธุรกิจจัดการดังนี้
1. ประกอบธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และมีจริยธรรมในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าหรือประชาชน รวมทั้งบริษัทหลัก
ทรัพย์อื่น
2. ปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ
3. ประกอบธุรกิจโดยมีระบบการดำเนินงานที่มีมาตรฐานและการควบคุมที่ดี โดยใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ด้วยความ
ระมัดระวังด้วยข้อมูลที่เพียงพอ และมีหลักฐานที่สามารถอ้างอิงได้ รวมทั้งปฏิบัติตามกฎหมาย กฎข้อบังคับของสมาคมโดย
เคร่งครัด
4. เปิดเผยให้ลูกค้าทราบ ในกรณีมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่ให้บริการนั้น
5. ห้ามมิให้เปิดเผยข้อมูลของลูกค้าที่ตนได้ล่วงรู้มาเนื่องจากการดำเนินธุรกิจ อันเป็นข้อมูลที่ตามปกติวิสัยจะพึงสงวนไว้ไม่เปิด
เผยเว้นแต่เป็นการเปิดเผย ตามหน้าที่ ตามกฎหมาย หรือเป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์ต่อระบบสถาบันการเงินหรือประชาชน
6. ห้ามมิให้กระทำการ หรือช่วยเหลือ หรือสนับสนุนการกระทำอันเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ หรือการกระทำอันเป็นความผิด เกี่ยวกับทรัพย์โดยทุจริต หรือการกระทำอันเป็นภัยต่อเศรษฐกิจหรือความ
มั่นคงของประเทศตลอดจนปกปิดหรือมีส่วนในการยักย้ายหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่ได้มาเนื่องจากการกระทำดังกล่าว
7. รายงานเลขาธิการสมาคม และหรือ นายกสมาคม และแจ้ง หน่วยราชการ และหรือ องค์กร และหรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และหรือมีหน้าที่ควบคุม และหรือ กำกับดูแลธุรกิจประเภทการจัดการลงทุน ถึงพฤติกรรมที่เห็นได้ว่าอาจเป็นการผิด
8. จัดการลงทุนให้แก่ลูกค้าโดยคำนึงถึงความเหมาะสมของการลงทุนกับวัตถุประสงค์ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ สภาพแวดล้อม
ตลอดจนข้อจำกัดต่างๆ ของลูกค้า
9. รักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ
10. เปิดเผยต่อลูกค้าในเรื่องลักษณะของการให้บริการ ค่าตอบแทน ความขัดแย้งทาง ผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างชัดเจน
ถูกต้องและครบถ้วน
11. นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของกองทุนอย่างชัดเจน ถูกต้อง และครบถ้วน
12. จัดให้มีระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ของพนักงาน
13. ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพที่สมาคมกำหนด

หลักจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ดูแลการปฏิบัติงาน (Code of Ethics of Compliance Officer)

1. ต้องตั้งมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต มีศีลธรรม ปราศจากอคติส่วนตัว และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยันหมั่นเพียร เต็มความรู้
ความสามารถและมีความรับผิดชอบ
2. ต้องมีความจงรักภักดีต่อบริษัท แต่จะไม่กระทำผิดกฎหมายหรือปฏิบัติตนผิดศีลธรรมอันดี
3. ต้องไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำหรือกิจกรรมใดๆ อันจะนำไปสู่ความเสื่อมเสียเกียรติยศชื่อเสียงของบริษัท
4. ต้องไม่กระทำการใดๆ อันนำไปสู่ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest) กับกองทุน ลูกค้าและหรือบริษัท อันอาจ
นำไปสู่ความมีอคติ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ด้วยจิตใจเป็นอิสระและความเที่ยงธรรมได้
5. ต้องไม่รับสิ่งของมีค่า หรือผลประโยชน์ใดๆ จากเพื่อนพนักงาน ลูกค้า คู่ค้าหรือคู่สัญญา ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการใช้
ดุลยพินิจและการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน หรือทำให้ความเป็นอิสระเที่ยงธรรมลดน้อยลง
6. ต้องรักษาความลับของกองทุน ลูกค้าและหรือบริษัทที่ล่วงรู้จากการทำงานในหน้าที่ และไม่นำความลับไปหาประโยชน์ส่วนตัว
หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือกระทำการใดอันเป็นการขัดผลประโยชน์ของกองทุน ลูกค้าและหรือบริษัท หรือขัดต่อกฎหมาย
7. ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่มีนัยสำคัญจากการปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการไม่รายงานข้อมูลนี้จะ
มีผลต่อการดำเนินงานของกองทุน ลูกค้าและหรือบริษัท หรือเป็นการปกปิดการกระทำผิดกฎหมาย
8. ต้องใฝ่หาความรู้และปรับปรุงวิธีการทำงานของตนให้มีความเชี่ยวชาญ ประสิทธิภาพ และมีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ